Testimonials FAQ Photo Gallery Contact Us Mail to Friend
Home Director Training Seminars & events News Join IOD IOD Members Projects Publications IOD Shop About IOD
ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 3 ประเภท ในการโค้ชผู้บริหาร

ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 3 ประเภท ในการโค้ชผู้บริหาร

Courtesy of  DDI

เคล็ดลับสู่ความสำเร็จในการโค้ชผู้บริหาร ไม่ใช่แค่การกระตุ้นด้านการเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรมกับผู้บริหารเท่านั้น แต่ในกระบวนการนี้ คือ การมีส่วนร่วมอย่างแข็งขันกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลัก

ผมจะทำการพูดคุยกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในช่วงเริ่มต้นของการโค้ชผู้บริหารทุกครั้ง และมักจะมีคำถามหนึ่งที่ได้ยินจากพวกเขาอยู่เสมอว่า

“เราจะแน่ใจได้อย่างไรว่า เราประสบความสำเร็จแล้ว”

โดยปกติ พวกเขาจะดูคาดหวังให้ผมพูดอะไรบางอย่าง เช่น "ผู้บริหารท่านมีความต้องการที่จะอยากเปลี่ยนแปลง" หรือ "ผู้บริหารต้องฝึกฝนพฤติกรรมใหม่"

แต่คำตอบที่แท้จริงของผมหน่ะหรือ จริง ๆ แล้วมันขึ้นอยู่กับบทบาทของคุณในฐานะผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลัก

เห็นได้ชัดว่า งานส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับผู้บริหารที่ได้รับการโค้ช แต่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีผลกระทบอย่างมากต่อความสำเร็จในการโค้ชผู้บริหาร

มาดูตัวอย่างกัน 

 

ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเปลี่ยนแปลงการโค้ชผู้บริหารได้อย่างไร

 

ผู้บริหารท่านหนึ่งที่ผมได้ทำการโค้ชให้นั้น ดำรงตำแหน่ง COO ท่านเป็นผู้บริหารที่ได้รับการคัดเลือกเข้ามาจากภายนอกองค์กรเพื่อดำเนินการด้านระบบการดูแลสุขภาพขนาดใหญ่ องค์กรกำลังดิ้นรนเพื่อบรรลุผลในการสร้างผลกำไรและเติบโต ตัว COO เองก็ดิ้นรนในการจัดการขอบเขตบทบาทของท่านเองด้วยเช่นกัน 

โดยการอาศัยทักษะและแนวทางที่ท่านเคยใช้ในบทบาทก่อนหน้านี้ ท่านพยายามจัดการกับปัญหาโดยตรงด้วยวิธี "เข้าใกล้" และอยู่ใน "ตำแหน่งภาคสนาม" แต่อันที่จริง ท่านควรจะเตรียมการจัดการเหล่านี้จากระยะห่างที่เหมาะสม และทำสิ่งต่าง ๆ ให้สำเร็จผ่านผู้นำในทีมของท่าน 

เป็นข้อผิดพลาดทั่วไปที่ผู้บริหารหลายท่านทำ เมื่อพวกเขาเปลี่ยนบทบาทไปสู่ระดับ C-suite พวกเขาต้องการกำกับการดำเนินการทางยุทธวิธีมากกว่าที่จะแนะนำการดำเนินการตามกลยุทธ์ 

โปรดจำไว้ว่า COO ท่านนี้เป็นผู้นำที่ชาญฉลาดและมีความกระตือรือร้น ท่านมีการจัดการการดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพในการตั้งค่าต่าง ๆ แต่อย่างไรก็ตาม ท่านไม่ได้รับผลลัพธ์ที่ต้องการในระบบของการตั้งค่าแบบกระจายตามภูมิศาสตร์ที่หลากหลาย ท่านมองไม่เห็นว่าเกิดอะไรขึ้น และหากผมได้รับรู้เพียงแค่เรื่องราวด้านเดียวของ COO แล้วละก็ ผมเองก็คงไม่เห็นว่าจะเกิดอะไรขึ้นต่อไปด้วยเช่นกัน

 

เปิดรับมุมมองของ CEO

ในการพยายามชี้แจงถึงเส้นทางข้างหน้าของ COO ผมได้พูดคุยกับ CEO (ด้วยความตระหนักรู้อย่างเต็มที่เกี่ยวกับ COO ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของข้อตกลงในการโค้ช) ท่านได้แบ่งปันผลลัพธ์ของการสนทนาเกี่ยวกับการกำหนดเป้าหมายล่าสุดต่อผู้บริหารให้ผมฟัง CEO ได้แชร์ตัวดัชนีชี้วัดความสำเร็จของงาน (KPI) สำหรับบทบาทผู้บริหาร ซึ่งช่วยให้ผมได้เห็นว่า COO จำเป็นต้องโฟกัสที่จุดใดบ้าง

สิ่งที่สำคัญกว่านั้น คือ ระหว่างการคุยกันครั้งแรกของผมกับ CEO ท่านได้แบ่งปันความคิดเห็นบางอย่างเกี่ยวกับสิ่งที่ท่านสังเกตเห็นในการปฏิบัติงานของ COO ท่านสามารถเห็นได้ว่า COO ทำงานหนักเพียงใดเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ แต่ท่านยังเห็นอีกด้วยว่า COO กำลังพยายามเป็นอย่างมากในการไว้วางใจทีมผู้นำระดับสูงของเขาด้วย และท่านสัมผัสได้ถึงความคับข้องใจภายในทีมที่เพิ่มมากขึ้นจากการมีส่วนร่วมอย่างลึกซึ้งของ COO ในบทบาทของพวกเขา

จาก Feedback ที่ผมได้เตรียมไว้ CEO และผมได้ทำการจัดเรียงกิจกรรมการโค้ชของเรา โดยโฟกัสไปที่เป้าหมายหลักในการช่วยให้ COO สร้างความไว้วางใจกับทีมของเขา และถอยกลับมาเพื่อโฟกัสไปที่กลยุทธ์ด้านการชี้แนะ แทนที่จะไปจัดการกับรายละเอียดเล็ก ๆ น้อย ๆ

ในเวลาเดียวกัน ผมให้การสนับสนุน COO โดยการให้คำแนะนำแก่ CEO เกี่ยวกับวิธีการมีส่วนร่วมและการสนับสนุน COO อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด เช่นเดียวกับ CEO หลาย ๆ ท่าน พวกเขาเองยังคงเรียนรู้วิธีการโค้ชในระดับ C-suite ด้วยเช่นเดียวกัน

ในฐานะองค์ประกอบหลักของกระบวนการ เราทั้งสามได้รวมตัวกันเพื่อพูดคุยพร้อมกันด้วยในภายหลัง ตรงนี้เอง เป็นจุดเชื่อมโยงระหว่างความพยายามในการโค้ชของเรากับผลลัพธ์หลักที่สำคัญ

หากไม่มีข้อมูลจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียแล้วละก็ ผมอาจไม่เข้าใจความท้าทายหลักในช่องว่างด้านทักษะของ COO แล้วผลที่ได้คงจะเป็น ท่านน่าจะต้องต่อสู้ดิ้นรนต่อไป โดยการเจาะลึกเข้าไปในทีมของท่านเพื่อขับเคลื่อนผลลัพธ์ แทนที่จะถอยออกมา และเหล่าผู้มีส่วนได้ส่วนเสียนี้ก็น่าจะได้เห็นการเปลี่ยนถ่ายบุคคลสำคัญในหมู่ผู้นำอาวุโสเหล่านั้น ซึ่งอาจรวมถึง COO เองด้วยในท้ายที่สุด

หลังการสนทนาพร้อมกัน COO น้อมรับ Feedback อย่างเต็มใจ ท่านใช้ความพยายามอย่างมีสติในการสร้างความไว้วางใจกับทีมของท่าน และถามคำถามที่ถูกต้อง ท่านได้ปล่อยให้สมาชิกในทีมได้แสดงฝีมือในบทบาทของพวกเขา และในที่สุดก็เห็นผลลัพธ์ที่ทำกำไรได้ตามสิ่งที่พวกเขามุ่งมั่นตั้งใจไว้

 

ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 3 ประเภท 

ในเรื่องราวที่ผมแชร์ไปก่อนหน้านี้ CEO เป็นผู้สนับสนุนที่แข็งแกร่งของ COO และต้องการเห็นเขาประสบความสำเร็จ แน่นอนว่า ความจริงไม่ได้เป็นเช่นนั้นเสมอไป 

เพื่อให้การโค้ชผู้บริหารประสบความสำเร็จได้นั้น สิ่งสำคัญ คือ โค้ชต้องเข้าใจการจัดการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และรู้วิธีรวบรวมข้อกังวลของพวกเขาเข้ากับกระบวนการโค้ชให้ได้ 

แม้ว่าโดยทั่วไปแล้ว จะมีผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลักเพียงสามประเภทที่เรามักจะได้ทำงานด้วย แต่บ่อยครั้งที่การจัดการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเป็นการผสมผสานจากหมวดหมู่ด้านล่างนี้:

 

ประเภท #1: ผู้ศรัทธา (Believer)

ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เป็นผู้มีความศรัทธาจะให้การสนับสนุนกระบวนการโค้ชเป็นอย่างมาก ผู้นำที่มีผู้ศรัทธาให้การสนับสนุนพวกเขานั้น มีโอกาสสูงมากที่จะเติบโตอย่างรวดเร็วจากการโค้ช ผู้ศรัทธามีความเห็นเชิงบวกต่อผู้บริหารและเชื่อว่า พวกเขามีสิ่งที่ถูกต้องเพื่อให้งานสำเร็จลุล่วงแล้ว

ข้อควรระวังหนึ่งประการสำหรับการเป็นผู้ศรัทธาที่มีความเชื่อมากเกินไปก็คือ ผู้ศรัทธาอาจคิดว่า ผู้ที่ได้รับการโค้ชนั้นไร้ที่ติ ผู้ศรัทธาพิจารณาว่าช่องว่างใด ๆ ที่มีอยู่นั้นส่วนใหญ่มาจากผู้อื่นหรือเพราะสภาพแวดล้อม ด้วยเหตุนี้ หน้าที่ของโค้ชผู้บริหาร คือ การช่วยให้ผู้บังคับบัญชาเข้าใจจุดแข็งและจุดอ่อนของผู้บริหาร ซึ่งจะช่วยให้พวกเขาเติบโตไปถึงจุดสูงสุดได้

 

Type #2: ผู้ขี้ระแวง (Skeptic)

ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่ขี้ระแวงมักเป็นบรรทัดฐานหากผู้บริหารกำลังประสบปัญหา ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอาจไม่เชื่อว่า บุคคลนั้นสามารถปรับและทำการเปลี่ยนแปลงที่จำเป็นได้

ในการสนทนากับโค้ช ผู้ขี้ระแวงนี้มักจะขยายจุดอ่อนของแต่ละบุคคลและมองไม่เห็นจุดแข็งของตนเอง พวกเขาอาจรู้สึกใจร้อนได้หากผลลัพธ์จากกระบวนการโค้ชไม่ได้มาอย่างรวดเร็ว งานของโค้ช คือ การช่วยผู้บริหารและให้หลักฐานที่ถูกต้องของความคืบหน้ากับผู้บังคับบัญชาของผู้บริหารท่านนั้น

 

Type #3: ผู้หลีกเลี่ยง (Avoidant)

ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่ชอบหลีกเลี่ยงมักจะเป็นกลางเกี่ยวกับกระบวนการ แต่ให้ข้อมูลเพียงเล็กน้อย อาจเป็นเพราะผู้มีส่วนได้ส่วนเสียไม่ค่อยรู้เรื่องผู้บริหารคนใหม่หรือจุดใดที่ควรโฟกัสในการโค้ชมากนัก

นอกจากนี้ พวกเขาอาจรู้สึกว่าการโค้ชเป็นเรื่องส่วนตัว พวกเขาอาจไม่ชอบความขัดแย้งหรือมีปัญหาในการให้คำติชมอย่างตรงไปตรงมา ในบางกรณี พวกเขาอาจไม่ต้องการจัดการกับความท้าทาย ความหวังของพวกเขา คือ การที่โค้ชและผู้บริหารสามารถทำงานร่วมกันได้อย่างอิสระ และผู้บริหารจะปรากฏตัวอีกครั้งหลังจากช่วงที่เกิดการเปลี่ยนแปลงไปแล้ว

แต่อย่างที่ผมได้กล่าวไว้ในเรื่องราวข้างต้นเกี่ยวกับ COO ด้านการดูแลสุขภาพ โค้ชได้รับมุมมองที่จำกัดมาก ๆ เมื่อพวกเขาได้พูดคุยแค่เพียงกับผู้บริหารที่พวกเขากำลังโค้ชอยู่เท่านั้น พวกเขาพลาดข้อมูลเชิงลึกและการสังเกตที่สำคัญโดยไม่รับการมีส่วนร่วมจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลักเลย

งานของโค้ช คือ การเปลี่ยนผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่ชอบหลีกเลี่ยงไปสู่ผู้ศรัทธา โค้ชทำเช่นนี้โดยช่วยให้แต่ละคนได้มีส่วนร่วมกับผู้บริหารในการสนทนาเกี่ยวกับการพัฒนาและให้การสนับสนุน

 

 

การโค้ชผู้บริหารที่ประสบความสำเร็จขึ้นอยู่กับสามเหลี่ยมแห่งความร่วมมือ

 

การโค้ชผู้บริหารไม่ได้เป็นเพียงการช่วยให้ผู้บริหารพัฒนาไปสู่ความสำเร็จเท่านั้น แต่เกี่ยวกับการช่วยให้พวกเขาประสบความสำเร็จในบริบทของบทบาทของพวกเขาในองค์กร 

เพื่อให้บรรลุสิ่งนี้ทั้ง โค้ช ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในองค์กร และบุคคลนั้น ประกอบกันเป็นสามเหลี่ยมแห่งความร่วมมือ ในรูปสามเหลี่ยมนี้ ความคาดหวัง ความต้องการ และข้อกังวล ได้รับการคาดการณ์และสมดุลเพื่อเพิ่มโอกาสในการได้รับผลตอบแทนอย่างมีนัยสำคัญ 

พลังของการโค้ชอยู่ในความสามารถในการสังเคราะห์มุมมองเหล่านี้ (รวมถึงข้อมูลใด ๆ ก็ตามจากการประเมินผู้บริหาร) ให้เป็นแนวทางที่สอดคล้องกัน ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อทุกคนและธุรกิจ ส่วนหนึ่งของการทำความเข้าใจความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลัก คือ การเห็นคุณค่าไม่ว่าจะเป็นตำแหน่งหรือความประสงค์ของพวกเขา

 

ความสัมพันธ์ระหว่างโค้ชกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเป็นกุญแจสำคัญ

ในการทำงานร่วมกันระหว่างโค้ชและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียนี้ โค้ชสามารถปรับแต่งการกระทำเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่วัดผลได้ ในขณะที่การสร้างรากฐานของความไว้วางใจและสร้างสมดุลให้กับความต้องการของแต่ละบุคคล

การโค้ชผู้บริหารที่ยอดเยี่ยมจะปลูกฝังระบบนิเวศของการสนับสนุนและความตึงเครียดในการเติบโตในเชิงบวก ในการค้นหาโค้ชผู้บริหารที่สมบูรณ์แบบ ให้คุณมองหาคนที่ประสบความสำเร็จในการทำงานร่วมกัน หาโค้ชที่ไม่ประเมินเรื่องต่อไปนี้ต่ำเกินไป - ระดับของการมีส่วนร่วมในการจัดการ ข้อมูล และการสนับสนุนที่จำเป็น

อย่าลืมว่า เป้าหมายทางธุรกิจและผลลัพธ์จากการโค้ชของคุณควรเชื่อมโยงกันอย่างแนบแน่น โค้ชผู้บริหารที่พูดถึงเรื่องนี้ตั้งแต่เริ่มต้นนั้น แปลว่าเขาได้อยู่บนเส้นทางที่จะช่วยเร่งการการเติบโตของผู้บริหารให้กับคุณ

 

เรียนรู้ว่า Executive Coaching (การโค้ชผู้บริหาร) ของ DDI สามารถเพิ่มพูนประสิทธิภาพของผู้นำระดับสูงได้อย่างไร

Marty Factor, Ph.D. นักจิตวิทยาอุตสาหกรรมและที่ปรึกษาผู้บริหารในกลุ่ม Executive Services ของ DDI



Articles Previous Next
 
ข้อกำหนดและเงื่อนไข | นโยบายความเป็นส่วนตัว | ผังเว็บไซต์ | Share to
Copyright © 2010 Thai Institute Of Directors. Site by Redlab
Our
Sponsors
SCBx BBL IVL Kbank BCP CPF GPSC IRPC PTT PTTEP PTTGC PTTOR SCG Singha TISCO TOP
Our
Partners
CAC SET SEC OECD CBNC CG Thailand