Testimonials FAQ Photo Gallery Contact Us Mail to Friend
Home Director Training Seminars & events News Join IOD IOD Members Projects Publications IOD Shop About IOD
Driving Innovation in Boardroom

คำว่า “นวัตกรรม” ถูกใช้อย่างแพร่หลายในทุกภาคส่วน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปัจจุบันท่ามกลางกระแสการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วทั้งในเชิงธุรกิจ และผลกระทบจากโรคระบาด COVID-19 “นวัตกรรม” นับเป็นกลยุทธ์สำคัญในการ “ฝ่าวิกฤติ” คู่ขนานไปกับการเพิ่มศักยภาพ ประสิทธิภาพและประสิทธิผล รวมถึงความยั่งยืนให้กับองค์กรในอนาคต

หลายองค์กรได้ให้ความสำคัญและทุ่มเททรัพยากรเพื่อวิจัยและสร้างนวัตกรรมในด้านต่างๆ ขึ้นอย่างต่อเนื่อง มีการจัดตั้งคณะกรรมการส่งเสริมนวัตกรรม (Innovation Committee) หรือจ้างผู้เชี่ยวชาญเข้ามาดูแลด้านนี้โดยเฉพาะ แต่การขับเคลื่อน นวัตกรรม” ขององค์กร ต้องอาศัยความรู้ ความเข้าใจ และการผลักดันของคณะกรรมการซึ่งมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการกำหนดทิศทางดังกล่าว

ธันวาคม 2564 The Institute of Corporate Directors Malaysia (ICDM) จัด Virtual Talk ในหัวข้อ “2022 ASEAN Board Trends: What Keeps You Awake at Night?” ซึ่งน่าสนใจมาก มีการเสนอผลการสำรวจ “2022 ASEAN Board Trend Report: Driving Innovation for Sustainability”  ที่รวบรวมจากความเห็นของกรรมการบริษัทมหาชน 250 คน ใน ASEAN IOD Network ซึ่งมี Thai IOD รวมอยู่ด้วย ผลการสำรวจบ่งบอก 5 แนวทาง (ตามลำดับความสำคัญ) ที่กรรมการต้องให้ความสนใจ

1.นวัตกรรม (Innovation) และการเปลี่ยนแปลง (Transformation)

2.การนำหลักการ ESG ไปปรับใช้ในองค์กร

3.การเพิ่มประสิทธิภาพในการกำกับดูแลความเสี่ยง (Risk) และความยั่งยืน (Sustainability) ขององค์กร

4.การเสริมสร้างทักษะและความรู้สำหรับการปฏิบัติหน้าที่กรรมการอย่างสม่ำเสมอ

5.การขยายบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบของกรรมการ

จะเห็นว่า “นวัตกรรม” เป็นสิ่งสำคัญอันดับต้นๆ ที่ board ต้องให้ความสนใจในปีนี้ สำคัญพอๆ กับความคล่องตัวของโมเดลธุรกิจ ความหลากหลายภายในองค์กร และการเปลี่ยนแปลงที่ถาโถมเข้ามาอย่างมากมาย 

จากรายงานของ ICDM สรุปว่า หากจะขับเคลื่อนองค์กรให้ประสบความสำเร็จอย่างยั่งยืนใน 2-3 ปีข้างหน้า คณะกรรมการต้องยึดกลยุทธ์ในเรื่องใดเป็นหลัก (ภาพที่ 1) ในการใช้กลยุทธ์นั้นๆ ต้องเผชิญความท้าทายในด้านใดบ้าง (ภาพที่ 2) และ เมื่อมองในส่วนของกรรมการ ต้องปรับปรุงอะไรหรืออย่างไรเพื่อนำพาองค์กรไปสู่ความสำเร็จตามที่คาดหมาย (ภาพที่ 3

 

 

IOD ขอแถมท้ายบทความนี้ด้วย “การจัดอันดับความสามารถด้านนวัตกรรม ประจำปี 2021” ในภาวะการระบาดของ COVID-19 จัดทำโดยองค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก (the World Intellectual Property Organization: WIPO) ได้สำรวจ132 ประเทศทั่วโลก และเป็นที่น่ายินดีที่กลุ่ม ASEAN ติดอันดับ Top 50 ถึง 4 ประเทศ ได้แก่: สิงคโปร์ (8), มาเลเซีย (36), ไทย (43), และเวียดนาม (44) มีเพื่อนสมาชิกที่น่าจับตามองเป็นอย่างมาก คือ ประเทศฟิลิปปินส์ ที่มีการพัฒนาในด้านนวัตกรรม” ในช่วง 6-7 ปีที่ผ่านมา ทำให้ก้าวกระโดดจากอันดับ 100 ในปี 2014 มาเป็นอันดับ 51 ในปี 2021

สำหรับประเทศไทย เราโดดเด่นมากที่สุดในเรื่องระบบตลาดและระบบธุรกิจ มีการตื่นตัวและลงทุนในการวิจัยและพัฒนานวัตกรรม” ที่เกี่ยวข้องค่อนข้างสูง แต่ก็ยังมีข้อจำกัดในเรื่องกฎระเบียบข้อบังคับและการบริการนำเข้า-ส่งออกเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร การให้ความรู้-ฝึกอบรมแก่พนักงาน และต้นทุนการวิจัยและพัฒนาจากต่างประเทศมีราคาสูง ด้วยเหตุผลดังกล่าวสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) จึงตั้งเป้าไว้ว่าจะร่วมกับหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องช่วยกันผลักดันให้ประเทศไทยเป็นชาติผู้นำแห่งนวัตกรรม และอยู่ใน Top 30 ของดัชนีนวัตกรรมโลกภายในปี 2030

ทางด้านสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ในฐานะหน่วยงานกำกับดูแลและสนับสนุน  ได้บรรจุแนวคิดเรื่องการส่งเสริมนวัตกรรมเป็นหลักปฏิบัติของคณะกรรมการไว้ใน CG Code ตั้งแต่ปี 2560 ดังนี้

  • (ข้อ 2.2) คณะกรรมการควรกำกับดูแลให้มั่นใจว่า วัตถุประสงค์และเป้าหมาย ตลอดจนกลยุทธ์ในระยะเวลา

ปานกลาง และ/หรือประจำปีของกิจการสอดคล้องกับการบรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายหลักของกิจการ

โดยมีการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาใช้อย่างเหมาะสม ปลอดภัย

  • (ข้อ 5.1) คณะกรรมการควรให้ความสำคัญและสนับสนุนการสร้างนวัตกรรมที่ก่อให้เกิดมูลค่าแก่ธุรกิจ

ควบคู่ไปกับการสร้างคุณประโยชน์ต่อลูกค้าหรือผู้ที่เกี่ยวข้อง และมีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม

เพื่อเป็นการสนับสนุนและให้ความสำคัญด้าน นวัตกรรม” IOD ได้หารือร่วมกับหน่วยงานกำกับดูแลที่เกี่ยวข้อง ในการปรับปรุง “หลักเกณฑ์การสำรวจโครงการสำรวจการกำกับดูแลกิจการบริษัทจดทะเบียนไทย ประจำปี 2566 (CGR)” และได้เพิ่มหัวข้อการประเมินเพื่อส่งเสริมเรื่องนวัตกรรมไว้ในหมวดการคำนึงถึงบทบาทของผู้มีส่วนได้เสียและการพัฒนาธุรกิจเพื่อความยั่งยืนด้วยเช่นกัน


  • (ข้อที่ 41) บริษัทเปิดเผยนโยบายและแนวทางส่งเสริมนวัตกรรมของบริษัทที่อาจเกี่ยวข้องกับการพัฒนาเทคโนโลยี กระบวนการทำงาน สินค้าและ/หรือบริการ หรือโมเดลธุรกิจ

  • (ข้อที่ 42) บริษัทเปิดเผยแผนงานและผลการพัฒนานวัตกรรมที่อาจเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี กระบวนการทำงาน สินค้าและ/หรือบริการ หรือโมเดลธุรกิจ

นอกจากกำหนดเกณฑ์ให้เป็นมาตรฐานแล้ว IOD ได้เผยแพร่ความรู้-ความเข้าใจเรื่องนวัตกรรมให้บริษัทจดทะเบียน ผ่านการทำ Workshop การออกคู่มือแนวปฏิบัติที่ดีสำหรับคณะกรรมการในการกำกับดูแลและส่งเสริมนวัตกรรม และการจัดหลักสูตรฝึกอบรมและสัมมนาในหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับ Innovation Governance

ตามที่กล่าวมาทั้งหมดจะเห็นว่า นวัตกรรมและการเปลี่ยนแปลงเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ คณะกรรมการต้องให้ความสำคัญและสร้างการตระหนักรู้ให้แก่ฝ่ายบริหารและพนักงาน เพื่อปลูกฝังวัฒนธรรมองค์กรในการเรียนรู้ พัฒนา และปรับปรุงการทำงานอยู่เสมอ  บางหน่วยงานอาจเข้าใจว่าเรื่อง นวัตกรรม” เป็นเรื่องเฉพาะที่ต้องสร้างขึ้นใหม่และสิ้นเปลือง แต่ในความเป็นจริงการใช้ นวัตกรรม” เพื่อแก้ปัญหาในการดำเนินงานได้อย่างถูกที่และถูกเวลา กลับเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในทุกธุรกิจ โดยเฉพาะ Startup SMEs ที่ต้องเรียนรู้ตลอดเวลา เมื่อ นวัตกรรม” กลายเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมองค์กรไม่เพียงเป็นการขับเคลื่อน นวัตกรรม” ระดับประเทศเท่านั้นแต่จะขับเคลื่อนการพัฒนาในระดับภูมิภาคในที่สุด 

 


อรกานต์ จึงธีรพานิช
Senior CG Analyst – Research and Development
สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย

 



Articles Previous Next
 
ข้อกำหนดและเงื่อนไข | นโยบายความเป็นส่วนตัว | ผังเว็บไซต์ | Share to
Copyright © 2010 Thai Institute Of Directors. Site by Redlab
Our
Sponsors
SCBx BBL IVL Kbank BCP CPF GPSC IRPC PTT PTTEP PTTGC PTTOR SCG Singha TISCO TOP
Our
Partners
CAC SET SEC OECD CBNC CG Thailand