Testimonials FAQ Photo Gallery Contact Us Mail to Friend
Home Director Training Seminars & events News Join IOD IOD Members Projects Publications IOD Shop About IOD
Key Trends for Board in 2020

 

Key Trends for Board in 2020:

 เรื่องสำคัญที่กรรมการควรเตรียมพร้อมและปรับตัว ในปี 2563

 

ปีที่ผ่านมา ถือเป็นอีกหนึ่งปีที่ Board ต้องทุ่มเททำงานภายใต้ความผันผวนของปัจจัยต่าง ๆ ทั้งเรื่องสภาพเศรษฐกิจ สังคม และปัญหาสิ่งแวดล้อม เมื่อก้าวเข้าสู่ปี 2563 ยังมีความท้าทายใหม่รอให้ Board เข้ามากำกับดูแล Key Trends ด้าน CG สำหรับปี 2563 ที่ Board ควรให้ความสนใจเป็นพิเศษและเตรียมความพร้อม  มีดังนี้

·                   ESG Policyแนวทางการดำเนินงานแบบ ESG หรือการดำเนินงานโดยยึดหลักความสำคัญของสิ่งแวดล้อม (Environment) สังคม (Social) และการกำกับดูแลกิจการที่ดี (Governance) ถือได้ว่าเป็นกระแสในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ซึ่งสำหรับปีนี้เทรนด้าน “E” ได้กลายเป็นประเด็นหลักสำหรับหลายภาคส่วน โดยในสถานการณ์ปัจจุบัน สิ่งที่สร้างความกังวลให้กับผู้คนจำนวนมากคงหนีไม่พ้นเรื่องการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ สิ่งแวดล้อม และการเกิดภัยพิบัติต่าง ๆที่เพิ่มขึ้น เช่น ไฟป่า ภัยแล้ง สถานการณ์ขยะพลาสติก และฝุ่น PM2.5 เป็นต้น ในมุมมองของผู้ถือหุ้นและนักลงทุนจึงมีความคาดหวังที่จะเห็นความรับผิดชอบของบริษัทต่อการบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ซึ่งนโยบายและแนวปฏิบัติที่มีประสิทธิภาพต่อเรื่องดังกล่าว จะช่วยเพิ่มความเชื่อมั่นให้แก่ผู้บริโภคและนักลงทุนได้

จากข้อมูลของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย พบว่าบริษัทที่ได้รับการประเมินข้อมูลด้านความยั่งยืนเพื่อดูผลการดำเนินงานย้อนหลังในช่วง 10 ปี แสดงให้เห็นว่าบริษัทที่ยึดหลัก ESG  สามารถสร้างผลการดำเนินงานในส่วนของกำไรสุทธิได้เติบโตอย่างต่อเนื่อง (ข้อมูลจาก Thailand Sustainability Investment, SET) และจากผลการสำรวจของ Callan Institute ยังสนับสนุนว่าจำนวนนักลงทุนสถาบันที่มีการนำหลักการ ESG เข้ามาเป็นปัจจัยหลักในการตัดสินใจลงทุน มีจำนวนเพิ่มขึ้นจาก 22 % ในปี 2013 เป็น 42 % ในปี 2019 อีกด้วย โดยนักลงทุนสถาบันเหล่านั้นมีความเชื่อมั่นว่าบริษัทที่ยึดหลักการดำเนินงาน ESG จะเป็นบริษัทที่สร้างความยั่งยืน และผลกำไรที่เติบโตให้แก่นักลงทุนในระยะยาวได้ (ข้อมูลจาก 2019 ESG Survey, Callan Institute)

·                   Digital Transformationคงไม่สามารถปฏิเสธได้ว่าในปัจจุบันเทคโนโลยีได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินธุรกิจอย่างมีนัยสำคัญ และส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมองค์กร รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภคในวงกว้างด้วย ซึ่งปัญหาหลักขององค์กรส่วนใหญ่ที่พบ คือ “ขาดบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญ” และ “การปรับตัวไม่ทันกระแส Disruption” สำหรับแนวทางการรับมือกับปัญหาดังกล่าวในเบื้องต้น คือ Board จำเป็นต้องเรียนรู้และก้าวให้ทันการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี ควรมีการประเมินความเสี่ยงในเรื่องดังกล่าวเป็นประจำ รวมทั้งพิจารณาว่าเทคโนโลยีที่บริษัทกำลังใช้อยู่นั้นมีความทันสมัยและเพียงพอต่อการดำเนินธุรกิจในระยะยาวหรือไม่

           นอกเหนือจากการบริหารความเสี่ยงด้านเทคโนโลยีและการทบทวน Business Model ของธุรกิจแล้ว การสร้างทักษะแก่บุคลากรให้มีความรู้ในด้านดิจิตอลก็เป็นสิ่งสำคัญ จากผลสำรวจของสถาบันไอเอ็มซี (IMC Institute) โดยสำรวจจากกลุ่มตัวอย่างผู้ตอบแบบสอบถามจำนวน 113 ราย ในช่วงเดือนกันยายน 2562 จากองค์กรด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ หน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ และโรงงานอุตสาหกรรม พบว่าองค์กรไทย 49.11มีความรู้ความเข้าใจ AI อยู่ในระดับเบื้องต้น  30.36% มีความรู้ความเข้าใจ AI ในระดับพอใช้ 11.60% มีความรู้ความเข้าใจ AI ในขั้นดี และ 8.93% ที่ยังไม่มีความรู้ความเข้าใจใน AI เลย นอกจากนี้การสำรวจยังพบว่าผู้บริหารระดับสูงในองค์กรไทย 50% เห็นความสำคัญของการนำ AI มาประยุกต์ใช้เป็นพิเศษ ขณะที่ 35.1% เห็นว่าสำคัญปานกลาง และ 14.29% ยังไม่ให้ความสำคัญและยังไม่มีการกล่าวถึง AI ในองค์กร ดังนั้น จะเห็นได้ว่าองค์กรไทยยังต้องเน้นเรื่องการพัฒนาองค์ความรู้ของบุคคลากรในเรื่องดังกล่าว เพื่อให้สามารถปรับตัวให้ทันต่อโลกใหม่ในการทำงาน ซึ่งวิสัยทัศน์ของผู้นำองค์กรถือว่ามีความสำคัญอย่างมากในยุคการเปลี่ยนแปลงทางดิจิตอล การกำหนดกลยุทธ์ที่เหมาะสม และการพัฒนาองค์ความรู้อย่างต่อเนื่อง  จะเป็นตัวแปรสำคัญที่ทำให้ธุรกิจพัฒนาไปข้างหน้าได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ รวมทั้งช่วยเปิดโอกาสทางการตลาดใหม่ๆ และช่วยยกระดับให้องค์กรมีความสามารถทางการแข่งขันที่สูงขึ้นได้ด้วย

·          Board Composition: ในปี 2563 แนวโน้มเกี่ยวกับโครงสร้างคณะกรรมการบริษัทที่ทั่วโลกให้ความสำคัญ ได้แก่

-             ความหลากหลายของคณะกรรมการ ซึ่งบริษัทส่วนใหญ่ยังคงยกเรื่องความหลากหลายทางเพศเป็นประเด็นสำคัญต่อเนื่องจากหลายปีที่ผ่านมา ในขณะที่บางประเทศต้องการผลักดันให้ทุกบริษัทมีสัดส่วนกรรมการหญิงในปี 2563 ที่เพิ่มขึ้น เช่น ในประเทศญี่ปุ่น นายชินโซ อาเบะ นายกรัฐมนตรีได้ตั้งเป้าหมายให้สตรีญี่ปุ่นมีบทบาทในสังคมมากขึ้น หรือที่เรียกว่า “Womenomics” โดยประกาศเป้าหมายให้สตรีญี่ปุ่นอยู่ในตำแหน่งบริหาร สัดส่วนร้อยละ 30 ภายในปี 2563

      นอกจากความหลากหลายเรื่องเพศแล้ว แนวโน้มที่ทั่วโลกให้ความสนใจเพิ่มขึ้น คือเรื่องความหลากหลายทางด้านเชื้อชาติของกรรมการ ซึ่งพบว่าหลายบริษัทที่มีกรรมการจากต่างชาติอยู่ใน Board จะช่วยเพิ่มความคิดสร้างสรรค์และทัศนคติที่กว้างขึ้น เพิ่มความสามารถในการแก้ปัญหาจากการทำงานได้ดีขึ้น และช่วยให้บริษัทเกิดการเรียนรู้และพัฒนามากขึ้น เนื่องจากกรรมการจากต่างชาติถือเป็นแหล่งที่มาขององค์ความรู้ใหม่ ๆ ทั้งด้านวัฒนธรรม ภาษา และนวัตกรรม

-             สัดส่วนกรรมการอิสระที่เพิ่มขึ้น จากการส่งเสริมเรื่องความสำคัญของกรรมการอิสระในช่วงหลายปีที่ผ่านมา พบว่าบริษัทจดทะเบียนไทยมีแนวโน้มสัดส่วนกรรมการอิสระใน Board สูงขึ้นในทุก ๆ ปี โดยบริษัทที่มีสัดส่วนของกรรมการอิสระเกินครึ่งเมื่อเทียบกับจำนวนกรรมการทั้งหมด เพิ่มจาก 11ในปี 2559 เป็น 16ในปี 2562 (ข้อมูลจาก Corporate Governance Report of Thai Listed Companies 2019, IOD) นอกจากนี้การแต่งตั้งให้มี Lead Independent Director ในกรณีที่บริษัทไม่ได้มีประธานกรรมการที่เป็นกรรมการอิสระก็มีแนวโน้มสูงขึ้นด้วยเช่นกัน

      อย่างไรก็ตามสิ่งที่สำคัญนอกเหนือไปจากสัดส่วนกรรมการอิสระที่เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนดแล้ว บริษัทควรส่งเสริมให้กรรมการอิสระเหล่านั้นเป็นกรรมการที่มีคุณภาพ และทำหน้าที่ด้วยความเป็นอิสระจริงๆ ด้วย ยกตัวอย่างของประเทศอินเดียที่ The Ministry of Corporate Affairs (MCA) ได้ออกข้อบังคับให้กรรมการอิสระต้องทำการทดสอบความรู้ความเชี่ยวชาญของตน ผ่านการทำแบบทดสอบ online proficiency test ซึ่งจัดโดย The Indian Institute of Corporate Affairs (IICA) โดยเป็นการประเมินในเรื่อง กฎหมายบริษัทมหาชน กฎหมายหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ บัญชีเบื้องต้น และความรู้อื่นที่เกี่ยวข้องกับการทำหน้าที่กรรมการอิสระ ซึ่งกรรมการอิสระต้องได้คะแนน 60ขึ้นไป จึงจะผ่านการทดสอบและถือว่ามีคุณสมบัติเหมาะสมที่จะดำรงตำแหน่งกรรมการอิสระได้ (ข้อมูลเพิ่มเติมเรื่อง Online Proficiency Self Assessment Test: https://iica.nic.in/cid_Proficiency.aspx)

-             คณะกรรมการชุดย่อยอื่น ๆ นอกเหนือจากคณะกรรมการตรวจสอบที่ต้องจัดให้มีตามข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์ฯ หรือคณะกรรมการสรรหาและคณะกรรมการพิจารณาค่าตอบแทนที่บริษัทพิจารณาจัดให้มีขึ้นแล้วนั้น จะเห็นได้ว่าบางบริษัทเริ่มมีการแต่งตั้งคณะกรรมการชุดย่อยเฉพาะด้านขึ้น เพื่อช่วยติดตามและกำกับดูแลการดำเนินงานเฉพาะเรื่องอย่างใกล้ชิดมากยิ่งขึ้น เช่น คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง คณะกรรมการกำหนดกลยุทธ์และนโยบายด้าน IT คณะกรรมการธรรมาภิบาลและความรับผิดชอบต่อสังคม เป็นต้น อย่างไรก็ตาม การจัดให้มีคณะกรรมการชุดย่อยเฉพาะขึ้นนั้น ขึ้นอยู่กับความจำเป็นและความเหมาะสมของแต่ละบริษัท โดยต้องพิจารณาจากสภาพและขนาดของธุรกิจเป็นหลักด้วย

        ทั้งหมดนี้เป็นเพียงแนวโน้มด้าน CG บางส่วนที่ Board ควรเตรียมรับมือในปี 2563 อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญคือ Board ต้องมีการตื่นตัวและเตรียมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงในเรื่องสำคัญอื่น ๆ ที่อาจเข้ามากระทบกับองค์กรนอกเหนือจากประเด็นที่กล่าวมาข้างต้นด้วย หาก Board สามารถมองเห็นโอกาสจากความเสี่ยงและสามารถบริหารจัดการได้ เชื่อว่าปี 2563 จะเป็นปีที่องค์กรสามารถก้าวไปอย่างมีประสิทธิภาพ และบรรลุตามเป้าหมายที่วางไว้อย่างมีประสิทธิผลได้ไม่ยาก

 

 



Articles Previous Next
 
ข้อกำหนดและเงื่อนไข | นโยบายความเป็นส่วนตัว | ผังเว็บไซต์ | Share to
Copyright © 2010 Thai Institute Of Directors. Site by Redlab
Our
Sponsors
SCBx BBL IVL Kbank BCP CPF GPSC IRPC PTT PTTEP PTTGC PTTOR SCG Singha TISCO TOP
Our
Partners
CAC SET SEC OECD CBNC CG Thailand