Testimonials FAQ Photo Gallery Contact Us Mail to Friend
Home Director Training Seminars & events News Join IOD IOD Members Projects Publications IOD Shop About IOD
ESG และบทบาทของกรรมการ

กระแสความคาดหวังของ ESG ทั้งที่มาจากนักลงทุน คู่ค้า ลูกค้า สถาบันการเงิน หน่วยงานกำกับดูแล และผู้มีส่วนได้เสียอื่นๆมีระดับร้อนแรงมากขึ้นทุกๆวัน ทำให้บริษัทต้องปรับตัวและเปลี่ยนแปลงตัวเองให้ทันกับเหตุการณ์เหล่านี้ คำถามสำคัญคือ คณะกรรมการบริษัทควรมีบทบาทต่อ ESG ในองค์กรอย่างไร

ผลการสำรวจของ PwC จาก Annual Corporate Directors Survey, October 2022 ได้แสดงให้เห็นว่ากรรมการ 86% เข้าใจ ESG ในภาพรวม แต่หากลงในรายละเอียดเช่น Climate Risk และ Carbon Emissions กรรมการมีความเข้าใจเพียง 65% และ 56% ตามลำดับ



บริษัทที่สามารถทำ ESG ให้สำเร็จตามความมุ่งหมายได้ ย่อมมีโอกาสนำกิจการสู่ความสำเร็จและความยั่งยืนได้มากกว่าองค์กรอื่นๆ สิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งต่อความสำเร็จนี้ ต้องเริ่มต้นจากคณะกรรมการบริษัท บทความนี้จึงขอให้แนวทางสำคัญของบทบาทคณะกรรมการบริษัทต่อ ESG ดังนี้

• ความมุ่งหมายและกลยุทธ์ (Purpose and strategy)

• ความเสี่ยง (Risks)

• การเปิดเผยข้อมูล (Disclosures)

• การวัดผลและติดตาม (Measuring and monitoring progress)

• การใช้ผลตอบแทนเพื่อสร้างแรงจูงใจ (Using compensation to create incentives)

งานสำคัญที่กรรมการควรปฏิบัติในแต่ละบทบาทมีดังนี้

ความมุ่งหมายและกลยุทธ์ (Purpose and strategy)

• คำนึงถึงความต้องการของผู้มีส่วนได้เสีย

• กำหนดความมุ่งหมายและกลยุทธ์ให้สอดคล้องกัน

• เปรียบเทียบกับความมุ่งหมายของคู่แข่ง

• พิจารณาและติดตามทั้งโอกาสและความเสี่ยงในระยะยาวอย่างสม่ำเสมอ


ความเสี่ยง (Risk )

• บริหารความเสี่ยงให้ครอบคลุมความเสี่ยงจาก ESG


• จัดทำแผนจัดการความเสี่ยงด้าน ESG

• จัดลำดับความสำคัญของความเสี่ยงด้าน ESG และพิจารณาว่ามีผลต่อการจัดสรรเงินทุนหรือไม่


การเปิดเผยข้อมูล (Disclosures)

• สื่อสารข้อมูลว่าความมุ่งหมายจะนำไปสู่ความยั่งยืนอย่างไร และมีเกณฑ์วัดความคืบหน้าทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ

• พิจารณาเกณฑ์การเปิดเผยข้อมูลที่เหมาะสมต่อบริษัท โดยดูจากสิ่งที่ผู้ประเมิน ESG คาดหวัง และข้อมูลอื่นๆที่นำมาเปรียบเทียบได้

• เปิดเผยข้อมูลอย่างโปร่งใสให้ผู้มีส่วนได้เสียได้ทราบเกี่ยวกับผลงานที่ปฏิบัติได้จริงกับเป้าหมายระยะสั้นและระยะยาว

• เปิดเผยข้อมูลโดยพิจารณาว่าจะเปิดเผยแบบประจำปีหรือควรใช้ช่วงเวลาใด

• พิจารณาว่าควรเปิดเผยข้อมูลแบบรวมหรือแต่ละบริษัท


การวัดผลและติดตาม (Measuring and monitoring progress)

• พิจารณากรอบและมาตรฐาน ESG ที่เหมาะสมกับบริษัทในการวัดผล ESG

• ติดตามและสื่อสารผลการปฏิบัติให้ผู้มีส่วนได้เสียทราบ


การใช้ผลตอบแทนเพื่อสร้างแรงจูงใจ (Using compensation to create incentives)

• เชื่อมโยงผลตอบแทนของผู้บริหารกับการปฏิบัติด้าน ESG พร้อมทั้งทำการเปรียบเทียบกับการปฏิบัติโดยบริษัทอื่นๆ

• จัดทำเมตริกที่เหมาะสมกับบริษัทเพื่อประเมินผลงานของผู้บริหาร

อ่านข้อมูลฉบับเต็มได้ที่ ESG Oversight : The Corporate Director’s Guide, March 2022 โดย PwC

เขียนโดย วารุณี ปรีดานนท์ ที่ปรึกษาด้านการกำกับดูแลกิจการ การบริหารความเสี่ยง การตรวจสอบภายใน ESG และ GRC



Articles Previous Next
 
ข้อกำหนดและเงื่อนไข | นโยบายความเป็นส่วนตัว | ผังเว็บไซต์ | Share to
Copyright © 2010 Thai Institute Of Directors. Site by Redlab
Our
Sponsors
SCBx BBL IVL Kbank BCP CPF GPSC IRPC PTT PTTEP PTTGC PTTOR SCG Singha TISCO TOP
Our
Partners
CAC SET SEC OECD CBNC CG Thailand