Testimonials FAQ Photo Gallery Contact Us Mail to Friend
Home Director Training Seminars & events News Join IOD IOD Members Projects Publications IOD Shop About IOD
แนวปฏิบัติที่ดีสำหรับคณะกรรมการด้านการบริหารความเสี่ยง

แนวปฏิบัติที่ดีสำหรับคณะกรรมการด้านการบริหารความเสี่ยง

การดำเนินธุรกิจในปัจจุบันอยู่ท่ามกลางสภาพแวดล้อมที่เต็มไปด้วยความไม่แน่นอน ซึ่งไม่มีผู้ใดคาดเดาได้อย่างแม่นยำ เช่น การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี การเกิดโรคระบาด การออกกฎเกณฑ์ใหม่ๆ ฯลฯ บริษัทที่จะอยู่ได้อย่างยั่งยืนในโลกยุคใหม่นี้ จึงต้องเป็นบริษัทที่มีกลยุทธ์และการบริหารงานที่ยืดหยุ่น รวมถึงต้องมีคณะกรรมการที่มีศักยภาพในการขับเคลื่อนองค์กรเพื่อตอบสนองความคาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ได้อย่างรอบด้าน ตลอดจนสามารถรับมือกับ “ปัจจัยเสี่ยง” ต่างๆ ได้อย่างเหมาะสม

ในการดูแลให้กลไกการบริหารความเสี่ยงเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพนั้น คณะกรรมการจะต้องมีความเข้าใจใน “ความเสี่ยงสำคัญ” ต่างๆ ขององค์กร ตลอดจน “กระบวนการ” ในการบริหารจัดการความเสี่ยงเหล่านั้น โดยอาจพิจารณาแต่งตั้ง “คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง” ขึ้นมาเป็นการเฉพาะ เพื่อช่วยแบ่งเบาภาระหน้าที่ในการกำกับดูแลเรื่องดังกล่าวก็ได้

ด้วยเหตุนี้ สถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) จึงได้จัดทำแนวปฏิบัติที่ดีฉบับนี้ขึ้น เพื่อให้คณะกรรมการได้ใช้เป็นแนวทางในการเพิ่มพูนประสิทธิภาพของระบบบริหารความเสี่ยงที่มีอยู่ให้ดียิ่งขึ้นต่อไป โดยจะแบ่งเนื้อหาออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ 1. หลักการสำคัญ (Key Principles) และ 2. แนวปฏิบัติ (Guidelines)

หลักการสำคัญ (Key Principles) ของแนวปฏิบัติที่ดีฉบับนี้ ประกอบด้วย

1.คณะกรรมการพึงใช้แนวคิดการบูรณาการ GRC ในการกำกับดูแลและส่งเสริมองค์กรมีความยั่งยืน

2.การบริหารความเสี่ยงเป็นองค์ประกอบสำคัญของการบูรณาการ GRC เพราะทำให้องค์กรมีความตระหนักและสามารถรับมือกับเหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต ที่มีผลเชิงลบต่อการบรรลุกลยุทธ์ วัตถุประสงค์ และความคาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

3.คณะกรรมการควรมีส่วนร่วมในการกำหนดและติดตามการนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ พร้อมหารือร่วมกับผู้บริหารระดับสูงในการกำหนดระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ (Risk Appetite) ที่สอดรับกับกลยุทธ์นั้น

4.คณะกรรมการควรทำให้ระบบบริหารความเสี่ยงและควบคุมภายในผนวกอยู่ในกระบวนการทำงานปกติ ไม่ควรทำให้เป็นกิจกรรมที่แยกต่างหาก หรือทำเป็นครั้งคราว

5.คณะกรรมการควรดูแลให้การบริหารความเสี่ยงถูกนำไปปฏิบัติแบบบูรณาการกับกระบวนการจัดการด้านความยั่งยืน อันครอบคลุมทั้งมิติด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และการกำกับดูแลกิจการ (ESG)

6.คณะกรรมการสามารถกำกับดูแลระบบบริหารความเสี่ยงเอง หรืออาจมอบหมายอำนาจหน้าที่ไปยังคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงเพื่อช่วยกำกับดูแลระบบดังกล่าว และรายงานผลให้คณะกรรมการทราบก็ได้

7.โครงสร้างคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงของแต่ละกิจการขึ้นอยู่กับขนาด ความซับซ้อน และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง โดยอาจเป็นคณะเดียวกันกับคณะกรรมการชุดย่อยอื่นๆ หรืออาจจัดตั้งแยกต่างหากก็ได้

8. คณะกรรมการควรมอบหมายบทบาท หน้าที่ และความรับผิดชอบให้คณะกรรมการบริหารความเสี่ยงผ่านการจัดทำกฎบัตรอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร

9.คณะกรรมการควรกำหนดให้มีการประชุมคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง และควรรายงานผลการประชุมดังกล่าว เพื่อให้คณะกรรมการรับทราบถึงผลการดำเนินงาน ประเด็นสำคัญด้านการบริหารความเสี่ยง รวมถึงคำแนะนำที่จำเป็นต่อการตัดสินใจ

10.คณะกรรมการบริหารความเสี่ยงควรได้รับการประเมินผลการปฏิบัติหน้าที่อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง และควรจัดทำรายงานผลการปฏิบัติหน้าที่ให้คณะกรรมการทราบเป็นประจำทุกปี

ทั้งนี้ สาระสำคัญในส่วนของแนวปฏิบัติ (Guidelines) สามารถดาวน์โหลดได้ที่ลิงค์ด้านล่าง

 

  



Best Practices Previous Next
 
ข้อกำหนดและเงื่อนไข | นโยบายความเป็นส่วนตัว | ผังเว็บไซต์ | Share to
Copyright © 2010 Thai Institute Of Directors. Site by Redlab
Our
Sponsors
SCBx BBL IVL Kbank BCP CPF GPSC IRPC PTT PTTEP PTTGC PTTOR SCG Singha TISCO TOP
Our
Partners
CAC SET SEC OECD CBNC CG Thailand